สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
******************
1. สภาพทั่วไป
1.1 ความเป็นมา
ตำบลแม่ตื่น เดิมได้ยกฐานะจาก สภาตำบล ขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ เมื่อวันที่ ๒8 กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ ตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๑๓ ตอนพิเศษ ๕๒ ง ลงวันที่ ๒8 กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ องค์การบริหารส่วนตำบล ชั้น ๓ และได้รับการเลื่อนชั้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ชั้น ๒ ( องค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง )
1.2 ลักษณะทางกายภาพ
ที่ตั้ง สำนักงานปัจจุบันตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 1 บ้านหลวง ตำบลแม่ตื่น ห่างจากที่ว่าการอำเภออมก๋อยไปทางทิศใต้ประมาณ 76 กิโลเมตร โดยมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่างๆ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลยางเปียง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลแม่ตื่น อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลม่อนจอง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลแม่อุสุ , ตำบลแม่สอง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก
แผนที่แสดงอาณาเขตตำบลแม่ตื่น
เส้นทางการคมนาคมที่ใช้ในการเดินทางเข้าสู่ตำบล
1. ตำบลแม่ตื่น - ตำบลอมก๋อย อำเภออมก๋อย ระยะทางประมาณ 76 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1099
2. ตำบลแม่ตื่น - ตำบลม่อนจอง อำเภออมก๋อย ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางสายบ้านใหม่ – บ้านห้วยน้ำขาว
ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ของตำบลแม่ตื่นส่วนใหญ่เป็นภูเขาปกคลุมด้วยป่าไม้อันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งเป็นต้นน้ำที่ก่อให้เกิดลำห้วย และแม่น้ำสายต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์ในการอุปโภค บริโภค และประโยชน์ในการเกษตร ซึ่งตำบลแม่ตื่นมีพื้นที่ราบเพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย และพื้นที่ทำการเกษตร
เนื้อที่ องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ตื่น มีเนื้อที่ความรับผิดชอบประมาณ 570.78 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 365,302 ไร่
1.3 การปกครองและประชากร
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ตื่นได้แบ่งการปกครองในตำบลออกเป็น 16 หมู่บ้าน ซึ่งเป็นหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเต็มพื้นที่ทุกหมู่บ้าน ดังนี้
ชื่อหมู่บ้าน |
ครัวเรือน |
จำนวนประชากร ( คน ) |
|||
ชาย |
หญิง |
รวมทั้งสิ้น |
|||
หมู่ที่ 1 |
บ้านหลวง |
170 |
200 |
228 |
428 |
หมู่ที่ 2 |
บ้านใหม่ |
195 |
182 |
192 |
374 |
หมู่ที่ 3 |
บ้านป่าคา |
244 |
368 |
384 |
752 |
หมู่ที่ 4 |
บ้านสันต้นปิน |
113 |
177 |
190 |
367 |
หมู่ที่ 5 |
บ้านห้วยหล่อดูก |
202 |
323 |
309 |
632 |
หมู่ที่ 6 |
บ้านขุนตื่นน้อย |
214 |
368 |
322 |
690 |
หมู่ที่ 7 |
บ้านซิแบร |
360 |
459 |
436 |
895 |
หมู่ที่ 8 |
บ้านห้วยยาบ |
227 |
340 |
341 |
681 |
หมู่ที่ 9 |
บ้านแม่ระอาใน |
227 |
400 |
400 |
800 |
หมู่ที่ 10 |
บ้านแม่ระอานอก |
187 |
263 |
255 |
518 |
หมู่ที่ 11 |
บ้านทุ่งต้นงิ้ว |
396 |
654 |
647 |
1,301 |
หมู่ที่ 12 |
บ้านแม้วแม่เทย |
216 |
384 |
358 |
742 |
หมู่ที่ 13 |
บ้านปิยอทะ |
173 |
283 |
273 |
556 |
หมู่ที่ 14 |
บ้านห้วยไก่ป่า |
115 |
224 |
220 |
444 |
หมู่ที่ 15 |
บ้านบราโก |
182 |
305 |
293 |
598 |
หมู่ที่ 16 |
บ้านห้วยดินหม้อ |
97 |
152 |
173 |
325 |
ประชากร ประชากรทั้งสิ้น 10,103 คน แยกเป็นชาย 5,082 คน หญิง 5,021 คน จำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 3,318 ครัวเรือน มีความหนาแน่นเฉลี่ยประมาณ 17 คน / ตารางกิโลเมตร ( ข้อมูล ณ 1 พฤษภาคม 2557 )
ท้องถิ่นอื่นในตำบล
- จำนวนองค์การบริหารส่วนตำบล - แห่ง
- จำนวนสุขาภิบาล - แห่ง
1.4 สภาพทางเศรษฐกิจ
อาชีพ
- สภาพภูมิประเทศตำบลแม่ตื่น ส่วนใหญ่เป็นภูเขาปกคลุมด้วยป่าไม้ เป็นที่ราบเชิงเขา ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง เกษตรกรรม ทำสวนผลไม้ ทำนาข้าว และพืชไร่ มีการเลี้ยงสัตว์ เช่นสุกร ไก่ โค บ้างเป็นบางครอบครัว
- อุตสาหกรรมการอุตสาหกรรมในเขตตำบลแม่ตื่นส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กแลอุตสาหกรรมในครัวเรือน
หน่วยธุรกิจในเขตเทศบาล
- ธนาคาร - แห่ง
- โรงแรม / สถานที่พักแรม 3 แห่ง
- สถานีบริการน้ำมันและก๊าช 7 แห่ง
- โรงงานอุตสาหกรรม - แห่ง
- โรงสี 5 แห่ง
- ร้านค้าทั่วไป 85 แห่ง
1.5 สภาพสังคม
การศึกษา
- การศึกษาระดับปฐมวัย ( ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ ) 3 แห่ง
- โรงเรียนประถมศึกษา 7 แห่ง
- โรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง
- โรงเรียนอาชีวศึกษา - แห่ง
- โรงเรียนสถาบันชั้นสูง - แห่ง
- ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ( ศรช. ต.แม่ตื่น ) 1 แห่ง
- ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน 21 แห่ง
- ที่อ่านหนังสือพิมพ์หมู่บ้าน - แห่ง
สถาบันและองค์กรทางศาสนา
- วัด 7 แห่ง
- สำนักสงฆ์ - แห่ง
- มัสยิด - แห่ง
- ศาลเจ้า - แห่ง
- โบสถ์ ( ศาสนาคริสต์ ) 9 แห่ง
- ศาลประจำหมู่บ้าน ( ผีเสื้อบ้าน ) - แห่ง
การสาธารณสุข
- โรงพยาบาลของรัฐ ขนาด – เตียง 1 แห่ง
- สถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน 3 แห่ง
- สถานพยาบาลเอกชน 2 แห่ง
- ร้านขายยา แผนปัจจุบัน - แห่ง
- อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100
ความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน
- สถานีตำรวจ 1 แห่ง
- สถานีดับเพลิง 1 แห่ง
1.6 การบริการพื้นฐาน
การคมนาคม
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ตื่นอยู่ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ 256 กิโลเมตร การติดต่อกับจังหวัดและอำเภอใกล้เคียง สามารถคมนาคมได้ทางเดียว คือทางรถยนต์ โดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1099 อำเภอที่ใกล้ที่สุด คือ อำเภอฮอด เดินทางโดยทางรถยนต์บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 ระยะทาง (อำเภอฮอด – บ้านกิ่วลม) ถนนลาดยางตลอดสาย ระยะทาง 39 กิโลเมตร และทางหลวงชนบทหมายเลข 1099 (สายกิ่วลม – อ.อมก๋อย – ต.แม่ตื่น) ถนนลาดยางตลอดสาย ระยะทาง 125 กิโลเมตร ส่วนถนนเชื่อมหมู่บ้านต่างๆ ใช้การได้ดีเพียง 6 หมู่บ้าน ส่วนอีก 10 หมู่บ้านบางส่วนสามารถใช้การได้ดีในฤดูแล้งเท่านั้น ตำบลแม่ตื่นมีรถรับจ้างประจำทาง(รถตู้)วิ่งผ่าน สายแม่ตื่น-เชียงใหม่วันละ 1 เที่ยว เวลาประมาณ 6 โมงเช้าของทุกวัน
การโทรคมนาคม
- ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข (อนุญาตเอกชน) 2 แห่ง
- สถานีโทรคมนาคม 2 แห่ง ( เสาส่งคลื่นสัญญาณโทรศัพท์ )
ระบบสาธารณูปโภค
การไฟฟ้า หมู่บ้านในตำบลแม่ตื่นที่มีไฟฟ้าใช้เกือบครบทุกครัวเรือนมี จำนวน 6 หมู่บ้าน ( หมู่ที่ 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , 16 ) ซึ่งมีโรงจักรพลังน้ำแม่เทยผลิตกระแสไฟฟ้า เพื่อผลิตไฟฟ้าสมทบให้กับพื้นที่ตำบลแม่ตื่น ส่วนอีก 10 หมู่บ้าน ซึ่งตั้งอยู่บนภูเขาสูงจึงมีระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาเซลล์)
1.7 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แหล่งน้ำสำคัญ ได้แก่ ลำน้ำแม่ตื่น ซึ่งไหลผ่านกลางตำบลแม่ตื่น และในตำบลยังมีลำห้วยที่สำคัญเช่น ลำห้วยนา และมีน้ำตกอยู่ 2 แห่ง คือ น้ำตกแม่ตื่นน้อย , น้ำตกนางนอน ซึ่งน้ำตกทั้ง 2 นี้เป็นแหล่งต้นน้ำของลำน้ำแม่ตื่น
ป่าชุมชน ในเขตตำบลแม่ตื่นได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการป่าชุมชนภายในตำบล เพื่อควบคุมดูแลและรักษาป่าให้คงอยู่คู่กับชุมชนอย่างยั่งยืน
1.8 ข้อมูลอื่นๆ
- อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน 1 รุ่น จำนวน 17 คน
- ตำรวจชุมชนประจำตำบล 1 รุ่น จำนวน - คน
1.9 ศักยภาพในตำบล
ก. ศักยภาพขององค์การบริหาร
(1) จำนวนบุคลากร รวมจำนวน 33 คน
ตำแหน่งในสำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล 12 คน
ตำแหน่งในส่วนการคลัง 9 คน
ตำแหน่งในส่วนโยธา 4 คน
ตำแหน่งในส่วนการศึกษาฯ 8 คน
(2) ระดับการศึกษาของบุคลากร
ประถมศึกษา - คน
มัธยมศึกษา/อาชีวศึกษา 10 คน
ปริญญาตรี 17 คน
สูงกว่าปริญญาตรี 6 คน
(3) รายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล
ประจำปีงบประมาณ 2556 จำนวนทั้งสิ้น 44,046,984.43 บาท แยกเป็น
รายได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลเก็บเอง 403,261.85 บาท
รายได้ที่ส่วนราชการต่างๆจัดเก็บให้ 14,628,378.22 บาท
เงินอุดหนุนจากรัฐบาล 29,015,344.36 บาท
ข. ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่
1) การรวมกลุ่มของประชาชน
จำนวนกลุ่มทุกประเภท 18 กลุ่ม
แยกประเภทกลุ่ม
- กลุ่มแม่บ้าน 6 กลุ่ม
- กลุ่มออมทรัพย์ 6 กลุ่ม
- กลุ่มผู้สูงอายุ 6 กลุ่ม
2) จุดเด่นของพื้นที่ (ที่เอื้อต่อการพัฒนาตำบล)
เนื่องจากตำบลแม่ตื่น มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาจึงมีทรัพยากรป่าไม้อยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้สัก ไม้ประดู่ และด้วยภูเขาสูงที่อุดมไปด้วยป่าไม้อันอุดมสมบูรณ์นี้ จึงก่อให้เกิดทรัพยากรน้ำ ลำห้วย ลำธาร ต่าง ๆ ซึ่งไหลจากภูเขาสูง อันสามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม ควรค่าแก่การดูแล รักษา และพัฒนาให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติต่อไป เช่น น้ำตกแม่ตื่นน้อย , น้ำตกนางนอน ศูนย์อนุรักษ์และฟื้นฟูพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย ฯลฯ เป็นต้น
3) ประเด็นปัญหาที่สำคัญของตำบล
สภาพปัญหาของพื้นที่และความต้องการของประชาชน
เพื่อให้การบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ตื่นเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สามารถปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิผล องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ตื่นจึงได้ทำการวิเคราะห์สภาพของพื้นที่ว่าควรได้รับการพัฒนา แก้ไขและปรับปรุงในจุดใด พร้อมทั้งตรวจสอบความจำเป็นพื้นฐานและความต้องการของประชาชนในพื้นที่โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา ซึ่งการระบุสภาพปัญหาของปัญหาและความต้องการของประชาชนสามารถแยกรายละเอียดได้ ดังนี้
สภาพปัญหาของพื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล แยกออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 การวิเคราะห์ตามหลักการ SWOT Analysis
1. จุดแข็ง ( Strengths )
- มีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งป่าไม้และสัตว์ป่าเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร
- ชุมชนมีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งด้านภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี
- พื้นที่มีสภาพแวดล้อมปราศจากมลภาวะทางเสียง มลภาวะทางอากาศ ปัญหาขยะ น้ำเสีย
- ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ
- องค์กรมีโครงสร้างและสายบังคับบัญชาที่สั้น เตี้ย ราบ ชัดเจน สามารถตัดสินใจเองและมีความยืดหยุ่นในการบริหารสูง ง่ายต่อการทำงานให้สำเร็จ
- องค์กรมีอาคาร สถานที่พร้อมให้บริการประชาชน
- องค์กรมีระบบการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง
- ชุมชนภูมิปัญญาท้องถิ่น เฉพาะตัว
- มีแหล่งท่องเที่ยวที่งดงามและคงสภาพตามธรรมชาติ
2. จุดอ่อน ( Weakness )
- พื้นที่เป็นชนบทที่อยู่ห่างไกลการคมนาคมไม่สะดวก ซึ่งส่วนใหญ่อยู่บนพื้นที่สูงมีปัญหาความยากจน ยากแก่การพัฒนา และเข้าถึง
- บุคลากรขาดการพัฒนา อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
- ขาดความต่อเนื่องในการปฏิบัติงานขององค์กร เนื่องจากมีการโอน (ย้าย) ของบุคลากรบ่อยครั้ง
- ระบบสัญญาณ internet มีการขัดข้องบ่อยครั้ง ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาและการรับรู้ข่าวสารให้ทันต่อเวลา
- ไม่มีการรักษาวินัยทางการคลัง และไม่ทำตามแผนงานการบริหารงบประมาณขององค์กร
- งบประมาณของหน่วยงานมีจำนวนจำกัด เมื่อเทียบกับเขตพื้นที่รับผิดชอบ จำนวนประชากรและพันธกิจที่จำเป็นต้องดำเนินการ
- เจ้าหน้าที่บางส่วนขาดความชำนาญและประสบการณ์ในการทำงาน
- ประชาชนบางส่วนมีระดับการศึกษาที่ต่ำ ไม่เหมาะสมแก่การประกอบอาชีพบางอย่างที่มีรายได้สูงกว่า
3. โอกาสในการพัฒนา ( Opportunities )
- นโยบายกองทุนหมู่บ้านและกองทุน กขคจ. ในพื้นที่ตำบลแม่ตื่น
- รัฐบาลมีนโยบายที่จะช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างชัดเจน เช่น การประกันราคาผลผลิต , การแก้ไขปัญหาความยากจน , SML , นโยบายกองทุนหมู่บ้าน ฯลฯ เป็นต้น
- มีการจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร
- มีระบบอินเตอร์เน็ตตำบลให้บริการ
- มีศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำชุมชนและศูนย์สาธารณสุขมูลฐานประจำชุมชน
- ประชาชนส่วนใหญ่มีจิตใจงาม ยังยึดถือประเพณีท้องถิ่น จึงเอื้อต่อความสำเร็จในการพัฒนา
- ประชาชนส่วนใหญ่ยังให้ความเคารพเชื่อฟัง ต่อผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น จึงเอื้อต่อความสำเร็จในการพัฒนา
4. ข้อจำกัด ( Treats )
- ไม่มีแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ ( อ่างเก็บน้ำ ) เพื่อการเกษตร
- ต้นทุนการผลิตทางการเกษตรมีราคาสูง และมีความผันผวนในด้านราคาจำหน่าย
- ขาดตลาดรองรับสินค้าหัตถกรรมและผลผลิตทางการเกษตรบางชนิด
- ไม่มีแหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพอย่างพอเพียงและเหมาะสม
- ประสบภัยธรรมชาติ เช่น อุทกภัย , วาตภัย และปัญหาภัยแล้ง ฯลฯ เป็นประจำทุกปี
- ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ
- พื้นที่ในเขตรับผิดชอบส่วนใหญ่อยู่บนภูเขาทำให้การคมนาคมติดต่อประสานงานลำบากมาก ไม่เอื้อต่อการความสำเร็จในการทำงาน โดยเฉพาะในฤดูฝนไม่สามารถออกทำงานเชิงรุกในพื้นที่ได้เลย
- ประชาชนที่อยู่บนพื้นที่สูงส่วนใหญ่เกือบทั้งหมด อ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้ ไม่สามารถพูดภาษาไทยกลางได้ เป็นอุปสรรคต่อการสื่อสารและสร้างความเข้าใจร่วมกันในการทำงาน
- ราคาสินค้าในเขตพื้นที่รับผิดชอบโดยภาพรวมส่วนใหญ่มีราคาแพง โดยเฉพาะน้ำมัน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการบริหารองค์กร
- ระบบการติดต่อสื่อสารในพื้นที่ เช่น โทรศัพท์ ไม่ดี ไม่เอื้อและเป็นอุปสรรคต่อการทำงาน